Wednesday, September 18, 2013

พิมพ์ซุ้มซ้อน


พิมพ์ซุ้มซ้อน เป็นพิมพ์ที่นักเล่นพึ่งจะแยกออกมาบรรหยัดพิมพ์ใหม่ จากพิมพ์ไข่ปลาเลือนได้ไม่นานนัก เนื่องจากว่ามีลักษณะของพิมพ์ที่แตกต่างจากพิมพ์ไข่ปลาเลือนได้อย่างชัดเจน เส้นซุ้มครอบแก้วของพิมพ์นี้จะมีลักษณะเป็นสองชั้น ซึ่งเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ จุดสังเกตอีกจุดหนึ่งคือฐานชั้นกลางแลดูมีรูปร่างคล้ายท่อนกระดูก ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนฐานชั้นกลางของพิมพ์ใดๆในหมวดสมเด็จวัดระฆัง
รุ่นอนุสรณ์ร้อยปี ปัจจุบันมีการแยกพิมพ์ออกมาในรายการประกวดอย่างชัดเจน ทั้งยังมีรูปพระพิมพ์นี้อยู่ในหนังสือของดีวัดระฆังซึ่งจัดสร้างจากทางวัดอีกด้วย

(รูปยังไม่มา เมื่อรูปมาแล้วผู้เขียนจะชี้ตำหนิพิมพ์เพิ่มให้อีกทีหนึ่ง)



พิมพ์ไข่ปลาเลือน

พิมพ์ไข่ปลาเลือน เป็นอีกหนึ่งในสองพิมพ์นิยมดั้งเดิมเช่นเดียวกับพิมพ์เส้นด้าย ซึ่งยังคงได้รับความนิยมอย่างล้นหลามในกลุ่มนักเล่นปัจจุบัน ทางผู้เขียนขอจำแนกพิมพ์ไข่ปลาเลือนออกมาเป็นเพียง2แบบเท่านั้น คือพิมพ์ฺไข่ปลาเลือนA หรือที่เรียกกันว่าพิมพ์ไข่ปลาเลือนบล็อกแรก และพิมพ์ไข่ปลาเลือนแบบปกติซึ่งเป็นบล็อกที่ถอดต่อออกมาอีกทีหนึ่ง นักเล่นหลายคนเคยถามผู้เขียนว่าพิมพ์ไหนนิยมกว่ากัน ระหว่างพิมพ์เส้นด้าย และพิมพ์ไข่ปลาเลือน ผู้เขียนจึงขอนำมาตอบในที่นี้ด้วยเลยว่า ทั้งสองพิมพ์นี้มีศักดิ์ศรีพอๆกัน ขึ้นอยู่กับความสวยเสียมากกว่า ถ้าสมมุติว่าพระสภาพพอๆกัน แล้วผู้อ่านนำพระพิมพ์เส้นด้ายลึกไปเทียบกับพิมพ์ไข่ปลาเลือนแบบปกติ เส้นด้ายลึกย่อมดูล่ำสัน สมบูรณ์กว่า ในทางกลับกันหากผู้อ่านนำพระพิมพ์เส้นด้ายใหญ่หรือเล็ก มาเทียบกับพระพิมพ์ไข่ปลาเลือนA พระพิมพ์ไข่ปลาเลือนAยอมดูสมบูรณ์ สวยงามกว่า เป็นต้น

พิมพ์ไข่ปลาเลือนA เป็นพิมพ์ที่สมบูรณ์ที่สุดในหมวดพิมพ์ไข่ปลาเลือน บางองค์ที่กดได้ลึกจะเห็นเส้นผ้าทิพย์ติดชัดตลอดแนว ซุ้มครอบแก้วจะเต็มครบ อวบหนา และไม่มีเว้าแหว่ง





 พิมพ์ไข่ปลาเลือนแบบปกติ นั้นมีลักษณะโดยรวมคล้ายคลึงกับพิมพ์ไข่ปลาเลือนAเกือบทุกประการ หากแต่ว่าบนเส้นซุ้มทางมุมล่างขวามือของเรานั้น จะมีหลุมเว้าลึกลงไป กดเส้นผ้าทิพย์ไม่ติด ซึ่งการยึดจุดดำหนิที่แตกต่างกัีนนี้ ทำให้เราสามารถแยกพิมพ์ไข่ปลาเลือนทั้ง2แบบนี้ออกจากกันได้โดยง่าย





ตำหนิพิมพ์ไข่ปลาเลือน (ตัวเลขสีแดง)



1. เม็ดไข่ปลาอยู่เสมอฐานชั้นบนสุดพอดี ไม่สูงหรือต่ำกว่าฐาน
2. ตรงกลางฐานชั้นล่างสุดจะมีคอดเว้าขึ้นไปเล็กน้อย (ต้องมี)
3. หัวฐานจะมีรอยแหว่ง  (ต้องมี)

ส่วนลักษณะที่แตกต่างระหว่างพิมพ์ไข่ปลาเลือนA และพิมพ์ไข่ปลาเลือนแบบปกติ(ตัวเลขสีม่วง)

1. ในพิมพ์ไข่ปลาเลือนแบบปกติจะกดเส้นผ้าทิพย์ไม่ติด
2. ในพิมพ์ไข่ปลาเลือนแบบปกติจะมีรอยแหว่งบนเส้นซุ้มครอบแก้ว

Wednesday, September 4, 2013

พิมพ์เส้นด้าย

พิมพ์เส้นด้าย เป็นหนึ่งในสองพิมพ์นิยมดั้งเดิม ซึ่งยังคงได้รับความนิยมอย่างล้นหลามในกลุ่มนักเล่นปัจจุบัน พระพิมพ์เส้นด้ายนี้สามารถแบ่งออกมาได้เป็นสามพิมพ์ย่อย คือเส้นด้ายลึก เส้นด้ายใหญ่ และเส้นด้ายเล็ก ซึ่งทั้งสามพิมพ์ย่อยนี้ มีทั้งพระที่ถูกกดออกมาจากบล็อกแม่พิมพ์ของพิมพ์เส้นด้ายที่ถอดพิมพ์ออกมาจากบล็อกแม่พิมพ์ของพิมพ์เศียรโตAอีกทีหนึ่ง รวมไปถึงแม่พิมพ์ของพระพิมพ์เศียรโตAที่กดปลายๆ มีเนื้อพระเข้าไปอุดตันอยู่ในบล็อกแม่พิมพ์มากจนพิมพ์เริ่มตื้น พระพิมพ์นี้มีทั้งกดเครื่องและกดมือ จะเห็นได้ถึงขนาดที่แตกต่างกันออกไป
ทั้งนี้ผู้เขียนจำเป็นต้องขออธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจก่อนว่า บล็อกแม่พิมพ์นี้ไม่ได้มีตัวเดียว จึงอาจทำให้ลักษณะของพระต่างกันออกไปบ้างเล็กน้อย แต่ด้วยเหตุที่ว่าตำหนิหลักๆของบล็อกแม่พิมพ์เหล่านี้คล้ายคลึงกันมากจึงเกือบจะเหมือนกัน กลุ่มนักเล่นจึงแบ่งพระออกเป็นพิมพ์หลักต่างๆ โดยยึดเอาจุดตำหนิเหล่านี้เป็นที่ตั้งในการจัดพิมพ์พระ

พิมพ์เส้นด้ายลึก เป็นพิมพ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับพิมพ์เศียรโตAที่สุด จะต่างก็เพียงว่าพิมพ์พระจะตื้นกว่าเล็กน้อย และรายละเอียดจะติดไม่เท่าพิมพ์เศียรโตA แต่ก็มีพระบางองค์ที่ติดตำหนิของพิมพ์เศียรโตAมาบ้าง พระพิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่มีราคาแพง และนิยมที่สุดในกลุ่มของพิมพ์เส้นด้าย





พิมพ์ฺเส้นด้ายใหญ่ เป็นพระในกลุ่มพิมพ์เส้นด้ายที่มีจำนวนมากที่สุด โดยรวมแล้วพิมพ์พระจะตื้นกว่าเส้นด้ายลึกอยู่พอควร โดยมากจะเห็นได้ว่าพระพิมพ์นี้ส่วนใหญ่นั้น หน้าตัก ฐาน และพระพักตร์บริเวณล่างขวามือของเรา มักจะกดได้ไม่เต็มพิมพ์เท่าที่ควร ทำให้ดูไม่สวยงามเท่ากับพระพิมพ์เส้นด้ายลึก

                

พิมพ์เส้นด้ายเล็ก เป็นพระที่พบเห็นได้น้อยที่สุดในกลุ่มพิมพ์เส้นด้าย พระมีลักษณะตำหนิหลักเช่นเดียวกันกับพิมพ์เส้นด้ายลึก และพิมพ์เส้นด้ายใหญ่ แต่ลักษณะโดยรวมนั้นเศียรพระจะดูค่อนข้างใหญ่ เมื่อเทียบกับลำตัว พิมพ์จะตื้น การตัดขอบมักจะตัดชิดกว่าพิมพ์เส้นด้ายอื่นๆ



ตำหนิพิมพ์เส้นด้าย (ตัวเลขสีแดง)



1. เม็ดไข่ปลาอยู่เสมอฐานชั้นบนสุดพอดี ไม่สูงหรือต่ำกว่าฐาน
2. เนื้อในส่วนนี้บุ๋มลงไป (ต้องมี)
3. ซุ้มครอบแก้วในจุดนี้เว้าเข้าไปและมีจุดเนื้อขึ้นเป็นเม็ด  (ต้องมี)

ส่วนลักษณะที่แตกต่างระหว่างพิมพ์เส้นด้ายลึกและพิมพ์เส้นด้ายใหญ่ (ตัวเลขสีม่วง)

1. ในพิมพ์เส้นด้ายใหญ่ เนื้อพระพักตร์ส่วนนี้มักแหว่งหายไปไม่มากก็น้อย
2. ในพิมพ์เส้นด้ายใหญ่ หน้าตักพระมักจะไม่เต็มในบริเวณที่วง
3.ในพิมพ์เส้นด้ายใหญ่ ฐานชั้นบนลากยาวไปจนถึงหัวฐานของฝั่งที่วงมักจะติดไม่เต็ม

หมายเหตุ: ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าพระทุกองค์จะเป็นดังที่ผู้เขียนได้กล่าวเอาไว้ แต่จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนเห็นพระมานั้น จุดเหล่านี้เป็นจุดที่เว้าแหว่งไปไม่มากก็น้อยในพระพิมพ์เส้นด้ายใหญ่

Tuesday, September 3, 2013

พิมพ์เศียรโตB

พิมพ์เศียรโตB นั้นเป็นพิมพ์ที่พึ่งจะบรรหยัดเข้ามาในสารบบของพิมพ์พระสมเด็จรุ่นอนุสรณ์ร้อยปีได้ไม่นานนัก หลักฐานที่สามารถยืนยันได้ว่าพิมพ์นี้มีอยู่จริง คือรูปภาพของพระพิมพ์นี้ได้ถูกบันทึกเอาไว้ในเนื้อหาหนังสือของดีวัดระฆัง ซึ่งจัดพิมพ์ขึ้นจากทางวัด พระพิมพ์นี้ค่อนข้างจะหายากซักหน่อย และโซนเนื้อจะดูไม่ค่อยมีมวลสารผสมมากนัก สีออกทางนมข้นค่อนไปทางขาว บางองค์อาจมีลักษณะของเนื้อพระที่ดูเหนอะ โดยรวมพระพิมพ์นี้มักจะมีสภาพเรียบร้อย เนื่องจากเป็นพระกดเครื่อง ปัจจุบันพระพิมพ์นี้ได้รับความนิยมมากขึ้น และถูกจัดให้มีรายการประกวดอยู่ในรายการของโต๊ะประกวดพระวัดระฆัง





ตำหนิพิมพ์ของพิมพ์เศียรโตB


1. เศียรพระกลม ปลายเกศเรียวตรงไม่แตกเป็นสองชั้น
2. มีรอยแหว่งของเนื้อตรงส่วนโค้งด้านในของซุ้่มครอบแก้ว
3. จุดไข่ปลาอยู่ในช่วงครึ่งล่างของฐานชั้นบนสุด
4. มีรอยยุบตรงสันซุ้มครอบแก้วด้านล่าง



Monday, September 2, 2013

พิมพ์เศียรโตA

พิมพ์เศียรโตA นั้นสันนิษฐานกันว่าเป็นพิมพ์ที่กดแรกๆ จากลักษณะของพระนั้นเป็นพระกดเครื่อง สังเกตุได้จากหลังที่เรียบแน่น รายละเอียดติดชัด ทั้งนี้ผู้เขียนต้องขออธิบายให้ฟังก่อนว่าประโยคที่ว่า "พระพิมพ์เศียรโตAเป็นพระบล็อกแรก" ในความเป็นจริงแล้วพิสูจน์ได้ เนื่องจากพระได้ถูกถอดออกมาหลายสิบบล็อก ซึ่งในทีนี้ผู้เขียนไม่ได้หมายถึงว่าบล็อกเส้นด้าย หรือบล็อกไข่ปลาเลือน รวมทุกพิมพ์อย่างละบล็อกได้สิบกว่าบล็อก แต่ผู้เขียนหมายถึงว่าพิมพ์เศียรโตA พิมพ์เส้นด้าย พิมพ์ไข่ปลาเลือน และพิมพ์อื่นๆนั้นมีบล็อกพิมพ์มีมากกว่า1บล็อก รวมแล้วน่าจะหลายสิบบล็อก ซึ่งจะมีบล็อกต้นแบบอยู่บล็อกแรกซึ่งเป็นบล็อกเศียรโตAแบบเต็มพิมพ์ ซึ่งจะมีข้อแตกต่างกับบล็อกเศียรโตที่ถูกถอดออกมาอีกทอดหนึ่ง ลักษณะสังเกตุมีเกณฑ์วัดอยู่ที่ ขนาด ขอบพระ ความล่ำ และรายระเอียดขององค์พระ ซึ่งถ้ามาดูกันจริงๆแล้ว พระพิมพ์เศียรโตAที่เป็นบล็อกแรกจริงๆนั้นมีน้อยมาก แต่ถ้าถามแค่ว่าพระพิมพ์เศียรโตAทั้งหมดนั้นมีจำนวนน้อยหรือไม่ ผู้เขียนก็คงต้องบอกว่ามีพอสมควรทีเดียว

พิมพ์เศียรโตA บล็อกแรก

พิมพ์เศียรโตA บล็อกแรก องค์พระจะมีลักษณะล่ำใหญ่ รายละเอียดยิบย่อยติดชัด ขนาดของพระค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับพระพิมพ์อื่นๆ เพราะบล็อกแม่พิมพ์นี้เป็นต้นแบบที่ทุกบล็อกแม่พิมพ์จะถูกถอดต่อๆมา






พิมพ์เศียรโตA

พิมพ์เศียรโตA ในที่นี้ผู้เขียนหมายถึงว่าเป็นพระพิมพ์เศียรโตAที่กดออกมาจากแม่พิมพ์ที่ถูกถอดออกมาจากพระพิมพ์เศียรโตA บล็อกแรก ทำให้รายละเอียดยิบย่อยบางส่วนหายไป ขนาดของพระจะเล็กกว่า ขอบพระมีลักษณะเป็นสองชั้นจากการถอดบล็อกแม่พิมพ์ ซึ่งเมื่อดูขอบพระแล้วจะเห็นได้ว่ามีเส้นคล้ายเส้นขีดยาวไปตามแนวความสูงของพระ พระพิมพ์นี้เป็นพระที่กดด้วยเครื่องกระเดื่องเช่นเดียวกันกับพระพิมพ์เศียรโตA บล็อกแรก เหตุที่ผู้เขียนจำเป็นต้องแยกแยะให้ผู้ที่เข้ามาศึกษาเห็นถึงความต่างนั้น เป็นเพราะว่าผู้เขียนต้องการอธิบายการดูพระในลักษณะของเชิงช่าง และเพื่อทำให้ผู้อ่านเกิดความกระจ่างว่าประโยคที่ว่า "พระพิมพ์เศียรโตA บล็อกแรก" นั้นเป็นอย่างไร เพราะประโยคที่ว่านี้ไม่ได้หมายถึงพระพิมพ์เศียรโตทุกองค์นั่นเอง





ตำหนิของพิมพ์เศียรโตA

 
  1. มีเนื้อเกินเป็นปื้นเล็กๆเหนือเส้นซุ้มครอบแก้ว (ต้องตะแคงดู อาจมีหรือไม่มีในองค์ที่ติดไม่ชัด)
  2. มีเนื้อเกินเป็นปื้นเล็กๆด้านนอกของเส้นซุ้มครอบแก้ว (ต้องตะแคงดู อาจมีหรือไม่มีในองค์ที่ติดไม่ชัด)
  3. มีเนื้อเกินเป็นปื้นเล็กๆด้านนอกของเส้นซุ้มครอบแก้ว (ต้องตะแคงดู อาจมีหรือไม่มีในองค์ที่ติดไม่ชัด)
  4. มีเนื้อเกินเป็นปื้นเล็กๆด้านนอกของเส้นซุ้มครอบแก้ว (ต้องตะแคงดู อาจมีหรือไม่มีในองค์ที่ติดไม่ชัด)
  5. มีเนื้อเกินเป็นปื้นเล็กๆด้านนอกของเส้นซุ้มครอบแก้ว (ต้องตะแคงดู อาจมีหรือไม่มีในองค์ที่ติดไม่ชัด)
  6. มีรอยเส้นครอบบริเวณพระพักตร์ (อาจมีหรือไม่มีในองค์ที่ติดไม่ชัด)
  7. มีปื้นเนื้อเกินด้านนอกแขน (ต้องตะแคงดู)
  8. มีปื้นเนื้อเกินเหนือหัวไหล่ (ต้องตะแคงดู)
  9. มีจุดเล็กๆตรงมุมศอก (ต้องตะแคงดู)
10. เส้นผ้าทิพย์ติดชัด ในส่วนที่วงแดงๆไว้จะมีรอยเป็นสามแฉกคล้ายตีนเป็ด (อาจมีหรือมีน้อยในองค์ที่
      ติดไม่ชัด)
11. เม็ดไข่ปลาอยู่เสมอฐานชั้นบนสุดพอดี ไม่สูงหรือต่ำกว่าฐาน
12. มีรอยเม็ดผดขึ้นลักษณะคล้ายปื้นเนื้อ (อาจมีหรือไม่มีในองค์ที่ติดไม่ชัด)
13. มีเส้นโค้งตรงฐานชั้นกลางหรือที่เรียกกันว่าเส้นปีกนก  (อาจมีหรือไม่มีในองค์ที่ติดไม่ชัด)
14. เนื้อในส่วนนี้บุ๋มลงไป (ต้องมี เป็นลักษณะเดียวกันกับพิมพ์เส้นด้าย)
15. ซุ้มครอบแก้วในจุดนี้เว้าเข้าไปและมีจุดเนื้อขึ้นเป็นเม็ด  (ต้องมี เป็นลักษณะเดียวกันกับพิมพ์เส้นด้าย)
 
ข้อสังเกตุในเชิงช่าง
 
จากลักษณะแล้วผู้อ่านจะเห็นได้ว่าพระพิมพ์เศียรโตมีเนื้อเกินอยู่หลายจุด เนื้อเกินนี้เกิดมาจากการแกะบล็อกพิมพ์ให้ดูสวยงาม หลังจากการถอดแม่พิมพ์ครั้งแรกจากพระองค์ต้นแบบ เนื่องด้วยเหตุว่าช่างเป็นคนถนัดซ้าย รอยเนื้อเกินส่วนใหญ่จึงเทไปทางขวาขององค์พระเสียเป็นส่วนมาก เพราะว่าช่างได้แกะแม่พิมพ์พลาดเป็นบางส่วนทำให้เนื้อในแม่พิมพ์หายไป และเมื่อกดออกมาจึงกลายเป็นเนื้อเกินดังที่เห็น

มวลสาร ขั้นตอนการสร้าง และธรรมชาติของสมเด็จวัดระฆังรุ่นอนุสรณ์ร้อยปี

มวลสารของสมเด็จวัดระฆังรุ่นอนุสรณ์ร้อยปี
 
มวลสารของสมเด็จวัดระฆังนั้นมีมากมาย ซึ่งอาจต่างกันออกไปบ้าง แล้วแต่ช่างที่ทำได้รับเนื้อมวลสารจะนำไปผสม แต่ส่วนผสมหลักๆจะมีดั้งนี้
 
ชิ้นส่วนและผงกรุของสมเด็จวัดระฆัง
ผู้เขียนคาดว่าใ้ช้เพียงจำนวนเล็กน้อยเพื่อเป็นหัวเชื้อให้กับเนื้อมวลสารทั้งหมดราวๆ1ช้อนชา ซึ่งข้อมูลนี้ได้ยินมาจากท่านเจ้าคณะ9 อีกทีหนึ่ง

ชิ้นส่วนและผงกรุของสมเด็จบางขุนพรหม
ผู้เขียนคาดว่าใ้ช้เพียงจำนวนเล็กน้อยเพื่อเป็นหัวเชื้อให้กับเนื้อมวลสารทั้งหมดราวๆ1ช้อนชา ซึ่งข้อมูลนี้ได้ยินมาจากท่านเจ้าคณะ9 อีกทีหนึ่ง

ชิ้นส่วนพระปิลันท์
ผู้เขียนคาดว่าใ้ช้เพียงจำนวนเล็กน้อยเพื่อเป็นหัวเชื้อให้กับเนื้อมวลสารเช่นเดียวกับมวลสารทั้งสองอย่างที่กล่าวมาแล้ว

เกสรดอกไม้
เกสรดอกไม้แห้งต่างๆที่ทางวัดรวบรวมไว้จากผู้ที่นำมาสักการะบูชาที่วัด

น้ำอ้อย
ใช้เพื่อเป็นตัวผสานให้กับเนื้อพระ แต่ทว่าอาจแตกต่างกันออกไปตามความถนัดของช่าง

ปูนขาว
ใช้เพื่อเป็นตัวผสานให้กับเนื้อพระ แต่ทว่าอาจแตกต่างกันออกไปตามความถนัดของช่าง

กล้วย
ใช้เพื่อเป็นตัวผสานให้กับเนื้อพระ แต่ทว่าอาจแตกต่างกันออกไปตามความถนัดของช่าง ซึ่งชนิดของกล้วยที่ใช้ก็จะต่างกันไปตามความถนัดของช่าง ซึ่งผู้เขียนได้รับข้อมูลมาว่ามีทั้งกล้วยน้ำว้า และกล้วยหักมุก

น้ำมันตังอิ๊ว
เคยเป็นที่ำถกเถียงกันว่ามีหรือไม่มี แต่จากข้อมูลที่ผู้เขียนได้รับมานั้น สรุปได้ว่ามีช่างบางคนได้ทำการใส่น้ำมันตังอิ๊วอยู่เหมือนกัน

เศษอิฐแดง
บางคนอาจสงสัยว่าทำไม ส่องพระสมเด็จรุ่นอนุสรณ์ร้อยปีแล้วจึงเห็นเศษเม็ดแดงๆ นั่นคืออิฐจากพระ
อุโบสถและโบสถ์ที่ชำรุดนำมาบดละเอียดผสมลงไปในเนื้อพระ
 
ข้อมูลการสร้างสมเด็จวัดระฆังรุ่นอนุสรณ์ร้อยปี
 
จากข้อมูลที่ผู้เขียนให้รวบรวมและศึกษามานั้น ไปรวมไปถึงการขอข้อมูลจากโรงงานที่ได้รับมอบหมายให้ผลิต และพยานบุคคลต่างๆที่อยู่ในช่วงเวลาเหตุการณ์นั้น ซึ่งทำให้ผู้เขียนเปลี่ยนความคิดเรื่องการ
ร้างพระชุดนี้ไปพอสมควร ทั้งนี้ผู้เขียนจะขอเขียนให้ผู้อ่านได้ฟังทั้งข้อมูลที่เคยได้รับ และข้อมูลที่ค้นคว้าหามา เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาศึกษาได้ประมวลข้อมูลพิจารณากันเอาเอง
 
ข้อมูลที่เคยได้รับและถูกบอกต่อๆกันมา  
 
ผู้เขียนเองเคยได้รับข้อมูลการสร้างพระชุดอนุสรณ์ร้อยปีนี้ว่าเป็นพระกดมือเท่านั้น เืมื่อกดออกมาแล้วจึงเคาะออกจากบล็อกพิมพ์ และตัดด้วยไม้ไผ่ซึ่งทำให้เกิดรอยตอกตัด หลังฝนมุมขอบด้วยกระดาษทรายให้ดูเรียบร้อย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มักจะถูกแต่งเติมให้ดูน่าฟังทั้งในเรื่องของมวลสารและการสร้าง จนผู้เขียนรู้สึกว่าเกินจากความเป็นจริงไปบ้าง เนื่องจากช่วงเวลาในการสร้างนั้นมีราวๆ1ปี กับพระผงที่กดออกมา135,000องค์ ซึ่งเป็นจำนวนจากเอกสารที่ทางวัดได้ระบุเอาไว้ ทั้งยังต้องสร้างพระชนิดอื่นๆของรุ่นอนุสรณ์ร้อยปีนี้ เช่นพระบูชา รูปหล่อโลหะต่างๆอีกด้วย ทำให้เวลาในการสร้างไม่เพียงพอตามที่กำหนดไว้ การสร้างจึงเป็นไปอย่างเร่งรีบ และไม่ได้สวยงามดังภาพวาดตามที่เล่ากันมา
 
ข้อมูลที่ค้นคว้ามาจากทางวัดและพยานบุคคลต่างๆ
 
หลังจากที่ผู้เขียนได้ค้นคว้าหาข้อมูล สิ่งที่ผู้เขียนได้ประมวลออกมามีอยู่ว่า การทำพระชุดนี้นั้นเร่งรีบเป็นอย่างมาก ได้มีการแบ่งแยกเนื้อพระให้กับช่างหลายคน ราวสิบกว่าคน พระชุดอนุสรณ์ร้อยปีนี้มีทั้งกดเครื่อง และกดมือ พระที่กดเครื่องพบได้ในพระพิมพ์นิยมทั้งหลาย คือพิมพ์เศียรโตA พิมพ์เศียรโตB พิมพ์เส้นด้าย พิมพ์ไข่ปลาเลือน และพิมพ์ซุ้มซ้อนเป็นต้น เครื่องที่ใช้กดนั้นเป็นเครื่องแบบกระเดื่อง ทำการกดที่โรงงาน ใช้บล็อกพลาสติกและบล็อกทองเหลือง การกดนั้นเริ่มจากการเอาเนื้อพระมาปั้นเป็นก้อนกลมๆวางลงบนแป้นแม่พิมพ์ ใช้เครื่องกด และงัดออกมา ไม่ต้องมีการตัดปีกแต่อย่างใด หลังจากนั้นจึงผึ่งลม แล้วนำมาฝนมุมขอบให้เรียบร้อย ส่วนการกดมือนั้น ทำการกดกันในเขตวัด ใช้บล็อกพลาสติกเพียงอย่างเดียว ก่อนกดพระจะโรยแป้งรองพิมพ์ กดพิมพ์พระ และเคาะออกมา จากนั้นจึงตัดปีกด้วยมีด ไม่ได้ตัดด้วยไม้ไผ่แต่อย่างได้ หากแต่ว่า"รอยตอกตัด"ที่เรียกกันนั้น เกิดขึ้นมาจากเศษของเนื้อพระที่ไปติดเข้ากับใบมีดจนแข็งตัว ทำให้เป็นรอยในการตัด
 
ธรรมชาติของสมเด็จวัดระฆังรุ่นอนุสรณ์ร้อยปี
 
การศึกษาพระนั้น ผู้เขียนมีความเห็นว่าผู้ศึกษาจะเรียนรู้พระชนิดนั้นๆได้ ผู้ศึกษาจะเป็นต้อง ศึกษาธรรม
ชาติของพระให้เป็นเสียก่อนพิมพ์ทรง เนื่องจากพระเก๊นั้นสามารถลอกเลียนแบบพิมพ์พระให้ใกล้เคียงได้ แต่ธรรมชาติของพระนั้นไม่สามารถเลียนแบบได้ เช่นถ้าเป็นเหรียญ ธรรมชาติของเหรียญคือตัวตัด ความคมชัด ความตึงผิว และอื่นๆ สำหรับสมเด็จวัดระฆังนั้นธรรมชาติของพระในเบื้องต้นมีดังนี้

เนื้อ เนื้อของสมเด็จวัดระัฆังรุ่นอนุสรณ์ร้อยปีนั้นจะดูแน่นและหนึก มีมวลสารที่ไม่เหมือนวัดอื่น ซึ่งเป็นสิ่งแรกที่ควรศึกษาไว้ให้แม่นยำ ซึ่งเนื้อพระของแต่ละพิมพ์จะมีโซนเนื้อหลักๆที่ต่างกันออกไป ซึ่งผู้เขียนจะยกตัวอย่างไว้ให้ในภายหลัง

รอยยุบตัว ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นที่ด้านหลังขององค์พระ เพราะส่วนมากเนื้อฝั่งด้านหน้าจะแน่นมากกว่าเพราะอยู่ด้านที่ประกบเข้ากับตัวบล็อกพิมพ์ รอยยุบและรอยปริจึงมักจะไปเกิดขึ้นที่ด้านหลังซะเป็นส่วนมาก แต่ในบางองค์ก็มีรอยที่ด้านหน้าให้เห็นบ้าง ทั้งนี้ขอให้จำลักษณะการยุบตัวให้ดี จะมีทั้งการยุบแบบบุ๋มลงไปแต่ไม่ปริเป็นรอยแยก กับยุบแล้วปริเป็นรอยแยก พิมพ์ที่มักจะพบเจอรอยยุบตัวน้อยที่สุดก็คือพิมพ์เศียรโตA เนื่องจากเป็นพระกดเครื่องจึงมีเนื้อที่แน่นกว่าพิมพ์อื่นๆ



รอยปริ ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นที่ด้่านหลังขององค์พระ มันพบมากในพิมพ์ไข่ปลาเลือน  ซึ่งสมเด็จวัดระฆังรุ่นอนุสรณ์ร้อยปีนั้นจะมีรอยปริที่ดูเป็นเอกลักษณ์มากทีเดียว ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดทั้งจากการผสมเนื้อพระ แรงในการกด และหลายปัจจัยอื่น ทั้งนี้แต่ละองค์ไม่จำเป็นต้องมีรอยปริ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆที่กล่าวไป



รอยลบมุม สมเด็จวัดระัฆังรุ่นอนุสรณ์ร้อยปีนั้นจะมีรอยลบมุมขอบเกือบทุกองค์ สามารถนำมาช่วยเป็นหลักการพิจารณาได้ การลบนั้นเกิดจากการใช้กระดาษทราย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นพระที่ไม่ได้รับการลบมุมขอบเองก็มี ทว่ามีจำนวนที่น้อยมาก

รอยตัดข้าง รอยตัดข้างเป็นรอยซึ่งเรียกกันว่ารอยตอกตัด ซึ่งเป็นการตัดลงไปตรงๆในแนวดิ่งและปาดไปทางแนวขวางเพื่อลบครีบ

 

ตรายาง สามารถช่วยเป็นการสกรีนได้เป็นลำดับแรกหากไปเดินแล้่วพบเจอตามสนามพระ ถ้าจำแม่นๆ เจอตรายางผิดก็ไม่ต้องเมื่อยดูอีกต่อไป แต่มีบางครั้งที่พระเป็นพระแท้แต่ตรายางปั๊มใหม่ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันกับตรายางแท้มากก็มีเช่นเดียวกัน ฉะนั้นผู้ศึกษาจึงควรเข้าใจและพิจารณาธรรมชาติอื่นๆของพระด้วย ไม่ใช่ดูแต่ตรายาง



คราบแป้ง มีทั้งหนาและบางขึ้นอยู่กับการโรยแป้งในขณะกดพิมพ์พระ ถ้าคราบแป้งบางจะดูคล้ายชั้นแป้งบางๆรองอยู่ทั่วองค์ แต่หากคราบแป้งหนาจะมีคราบแป้งหนาเป็นหย่อมๆ เกาะกับเนื้อพระ ซึ่งในบางครั้งอาจหลุดร่อนออกและเกาะเอาเนื้อพระติดออกไปด้วย



รอยแปรงปัด สามารถพบเห็นได้ในพระที่มีสภาพเดิมและไม่ผ่านการใช้ ถ้าส่องกล้องดูแล้วจะเห็นเป็นคราบแป้งและรอยแปรงกระจายอยู่ทั่วองค์พระ  ซึ่งถ้าไปทางไหนแล้วมักจะไปในทางเดียวกันสลับไปมาทั้งองค์พระ

 
กล่องพระ ถึงแม้ว่ากล่องใส่พระนั้นจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของพระ แต่กล่องก็มีราคาในระดับหนึ่ง และช่วยในการแยกแยะพระเก๊และพระแท้ได้ในระดับหนึ่ง ผู้เขียนจึงอยากอธิบายวิธีการดูกล่องพระแท้หรือเก๊เอาไว้ด้วย กล่องแท้นะจะเป็นยี่ห้อcosmoเท่านั้น ไม่มีกล่องvisonหรือยี่ห้ออื่นๆ ตราสกรีนถ้าเอามือลูบไปแล้ว จะไม่คมบาดมือหรือเป็นร่องลงไป จะบางเรียบติดกับผิวกล่อง เป็นสีทองออกด้านๆ ไม่สะท้อนแสงมากนั้น
 
 
 
 

พิมพ์ต่างๆของสมเด็จวัดระฆังรุ่นอนุสรณ์ร้อยปี

พิมพ์ต่างๆของสมเด็จวัดระฆังรุ่นอนุสรณ์ร้อยปี
 
ก่อนจะอธิบายถึงพิมพ์ต่างๆนั้น ผู้เขียนขออธิบายก่อนว่า พระสมเด็จวัดระฆังรุ่นอนุสรณ์ร้อยปีนั้นแท้จริงแล้วแบ่งออกมาได้เพียง3พิมพ์หลักจากทางวัด คือพิมพ์ใหญ่พระประธาน พิมพ์รูปเหมือน พิมพ์คะแนน แต่พิมพ์ที่ได้แยกกันออกมาในปัจจุบันนี้ เป็นการแยกของนักเล่น เพื่อแบ่งแยกพิมพ์หลักๆของพระทั้ง3พิมพ์นี้ ให้แยกย่อยลงมา เพื่อการแยกแยะที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น และเพื่อทำให้การกำหนดราคาเป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น
 
พระพิมพ์สมเด็จพระประธาน
 
พระพิมพ์สมเด็จพระประธานนั้นแบ่งออกเป็น2กลุ่้มหลักๆ คือพระกลุ่มพิมพ์นิยม และพระกลุ่มพิมพ์ทั่วไป ทั้งนี้การแยกแยะได้กำหนดขึ้นจากความแตกต่างของเนื้อหาธรรมชาติของพระ และค่าความนิยมในการเล่นหา

ทั้งนี้ทางผู้เขียนยังได้หาข้อมูลเชิงลึกจากทางวัดและพยานบุคคลต่างๆ ผู้เขียนจึงขอสงวนสิทธิ์ในการเขียนให้ข้อมูลสำหรับพระพิมพ์ที่ทางผู้เขียนได้รับการยืนยันจากพยานบุคคลต่างๆในพิธีแล้วว่าแท้และออกจากทางวัดจริงๆเท่านั้น
 
พระพิมพ์สมเด็จพระประธานกลุ่มพิมพ์นิยม

1.พิมพ์เศียรโตA
 
 
2.พิมพ์เศียรโตB
 

3.พิมพ์เส้นด้าย
 

4.ไข่ปลาเลือน
 

5. พิมพ์ซุ้มซ้อน
 
(ทางผู้เขียนกำลังนำพระไปถ่ายรูปอยู่)
 
6.พิมพ์ต้อใหญ่
 
 
พระพิมพ์สมเด็จพระประธานกลุ่มพิมพ์ทั่วไป
 
1.พิมพ์ต้อ
 
(ทางผู้เขียนยังไม่มีภาพประกอบ)
 
2.พิมพ์ไข่ปลาใหญ่
 
 
 พระพิมพ์สมเด็จพระประธานกลุ่มพิมพ์ที่ผู้เขียนขอละเอาไว้
 
1.พิมพ์แขนกลม
2.พิมพ์หลังเต่า
3 พิมพ์เศียรรูปไข่
4.พิมพ์ลึก
5.พิมพ์ลึกซุ้มมีติ่ง 
 

ประวัติการสร้างวัตถุมงคล รุ่นอนุสรณ์ร้อยปี



ประวัติการสร้างวัตถุมงคล รุ่นอนุสรณ์ร้อยปี

ปีพุทธศักราช 2515 ที่จะมาถึงในขณะนั้น อันเป็นปีที่การมรณภาพของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เวียนมาบรรจบครบ 100 ปี ประกอบกับวัดระฆังโฆสิตารามเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ถาวรวัตถุและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมากเกินกำลังของทางวัดที่จะบูรณะปฏิสังขรณ์โดยลำพัง
ม.ล.เนื่องพร สุทัศน์ เห็นว่าเป็นโอกาสอันเหมาะสมที่จะจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อหาทุนในการบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุและส่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่ชำรุดทรุดโทรม จึงได้นำโครงการดังกล่าวเสนอต่อพระราชธรรมภาณี รักษาการเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามสมัยนั้น ใช้ชื่อโครงการดังกล่าวว่า โครงการสร้างปูชนียวัตถุเพื่อเป็นอนุสรณ์ครบ 100 ปี แห่งการมรณภาพของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรํงสี) ณ วัดระฆังโฆสิตาราม จังหวัดธนบุรี ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพเรือ พล.ร.อ.จรูญ เฉลิมเตียรณ ผู้บัญชาการทหารเรือขณะนั้นรับผิดชอบเป็นประธานกรรมการดำเนินงาน พระราชธรรมภาณี รักษาการเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม เป็นประธานฝายสงฆ์ พล.ร.ท.อุดม สุทัศน์ ณ อยุธยา เจ้ากรมอู่ทหารเรือในขณะนั้น เป็นประธานกรรมการดำเนินการฝ่ายฆราวาส

พิธีในการจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นอนุสรณ์ร้อยปี

พิธีในการจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นอนุสรณ์ร้อยปี แห่งการมรณภาพท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม ประกอบไปด้วยพิธีทั้งทางสงฆ์และพรหมณ์ รวมทั้งสิ้น 3 วาระด้วยกัน
 วาระที่ 1 ประกอบพิธิพุทธาภิเษกทองชนวนและผงมวลสาร
หมายกำหนดการวาระแรก วันพฤหัสบดี ที่ 16 กันยายน พ.ศ.2514 พิธีการในส่วนนี้จัดขึ้นตามแบบขนบธรรมเนียมทั้งพิธีสงฆ์ และ พิธีพราหมณ์ มีการประกอบพิธีบวงสรวงอัญเชิญบารมีแห่งเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ทำพิธีบูชาฤกษ์ บูชาเทพยดา
ประธานฝ่ายสงฆ์ พระราชธรรมภาณี ประธานฝ่ายพราหมณ์ พระราชครูวามเทพมุนี พล.ร.ท.อุดม สุทัศน์ ณ อยุธยา ประธานกรรมการดำเนินงานจุดเทียนถวายพระราชธรรมภาณี ประธานฝ่ายสงฆ์จุดเทียนชัย

 วาระที่ 2 ประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธปฏิมาจำลองและรูปเหมือนสมเด็จพุฒาจารย์โต
หมายกำหนดการวาระที่ 2 วันเสาร์ ที่ 18 กันยายน พ.ศ.2514 พิธิการในวาระที่สองนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จมาเททองเป็นปฐมฤกษ์ตามกำหนดฤกษ์เวลา 15.35 น. และทรงปลูกต้นจันทน์หน้าหอพระไตรปิฎกด้วย

 วาระที่ 3 ประกอบพิธิพุทธาภิเษกพระพุทธรูป และวัตถุมงคลต่าง ๆ
หมายกำหนดการวาระที่ 3 วันพฤหัสบดี ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2515 อันเป็นวันครบรอบ 100 ปี แห่งการมรณภาพของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี พิธีพุทธาภิเกจัดขึ้นตามขนบประเพณี ทั้งพิธีพราหมณ์และพิธีสงฆ์ ในวาระที่สามนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นครั้งที่ 2 เพื่อทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษก และทรงวางศิลาฤกษ์โรงเรียนพระปริยัติธรรม ณ วัดระฆังโฆสิตาราม

คณาจารย์ร่วมพิธินั่งปรกพุทธาภิเษก วาระแรก พระรักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลย์ไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
พระโพธิวารคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิตร กรุงเทพฯ
พระพุทธมนตวราจารย์ (สุพจน์) วัดสุทัศน์ราชวราราม
พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ
พระครูวิริยกิตติ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
พระครูโสภณกัลยาณวัตร วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
พระครูกัลยาณานุกูล (เฮง) วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
พระครูประสาธน์วิทยาคม (นอ) วัดกลาง จ.พระนครศรีอยุธยา
พระครูสุตาธิกา (ทองอยู่) วัดหนองพะอง จ.สมุทรสาคร
พระครูสาทรพัฒนกิจ (ลมูล) วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี

คณาจารย์ร่วมพิธิใน วาระที่ 3 วันพฤหัสบดี ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2515
พระพิธีเจริญพระพุทธมนต์ในพระอุโบสถ

สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพน
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดราชบพิธ
พระธรรมวโรดม วัดสังเสชวิศยาราม
พระศาสนโสภณ วัดบวรนิเวศวิหาร
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดจักรวรรดิราชาวาส
พระพรหมมุนี วัดราชผาติการาม
พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดสุทัศนเทพวราราม
พระธรรมปัญญาจารย์ วัดโสมนัสวิหาร
พระธรรมปัญญาบดี วัดสามพระยา
พระธรรมปิฎก วัดปทุมคงคา

พระพิธีในมณฑลวางศิลาฤกษ์โรงเรียนพระปริยัติธรรม

พระธรรมเจดีย์ วัดทองนพคุณ
พระเทพมุนี วัดอรุณราชราราม
พระธรรมวิสุทธาจารย์ วัดพิขัยญาติการาม
พระเทพวรมุนี วัดพระเชตุพน
พระเทพวรเทวี วัดปากน้ำภาษีเจริญ
พระเทพญาณมุนี วัดราชโอรสาราม
พระเทพเมธี วัดเศวตฉัตร์
พระธรรมมหาวีรานุวัตร์ วัดไตรมิตร
พระโสภณวราภรณ์ วัดอรุณราขวราราม
พระสังวรกิจโกศล วัดราชสิทธาราม

พระคณาจารย์ร่วมบริกรรมปลุกเสกวัตถุมงคล รุ่น อนุสรณ์ 100 ปี

พระเทพคุณาธาร (เจียม) วัดโสธรวราราม
พระราชสิงหวรมุนี (ทรัพย์) วัดสังฆราชาวาส
พระราชญาณดิลก (ชิต) วัดเขาเต่า
พระราชปัญญาโสภณ (สุข) วัดราชนัดดาราม
พระโพธิวรคุณ (ฑูรย์) วัดโพธินิมิตร
พระรักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลย์ไลยก์
พระวิบูลเมธาจารย (เก็บ) วัดดอนเจดีย์
พระวิบูลย์วชิรธรรม (สว่าง) วัดคฤหบดีสงฆ์
พระโสภณธรรมมุนี (พ่วง) วัดศรีโคมคำ
พระพรหมจักสังวร (พรหมา) วัดพระบาทตากผ้า
พระสังวรกิจโกศล (เลิศ) วัดราชสิทธาราม
พระโสภณวราภรณ์ (เฉลียว) วัดอรุณราชวราราม
พระพุทธมนต์วราจารย์ (สุพจน์) วัดสุทัศนเทพวราราม
พระศรีสัจจาญาณมุนี (ประหยัด) วัดสุทัศนเทพวราราม
พระครูนนทกิจวิมล (ชื่น) วัดตำหนักเหนือ
พระครูสุตาธิการี (ทองอยู่) วัดหนองพะอง
พระครูโสภณกัลยาณวัตร (เส่ง) วัดกัลยาณมิตร
พระครูวิริยะกิตติ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
พระครูสาทรพัฒนากิจ (ลมูล) วัดเสด็จ
พระครูกัลยานุกูล (เฮง) วัดกัลยาณมิตร
พระครูรัตนสราธิคุณ ผทอง) วัดสระแก้ว
พระครูประสาธน์วิทยาคม (นอ) วัดกลางท่าเรือ
พระครูอุทัยคณารักษ์ (ใหญ่) วัดสระแก
พระครูพิพิธวิหารการ (เทียม) วัดกษัตราธิราช
พระครูวิมลนวการ (เผ้ง) วัดหน้าพระบรมธาตุ
พระครูไพศาลวิสุทธิคุณ (สำลี) วัดห้วยยาง
พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง) วัดบ้านสวน
พระครูวชิรรังษี (จันทร์) วัดมฤคทายวัน
พระครูจันทสโรภาส (เที่ยง) วัดม่วงชุม
พระครูพิศาลพัฒนกิจ (บุญรอด) วัดประดู่พัฒนาราม
พระครูประดิษฐ์นวการ (บุณ) วัดวังมะนาว
พระครูปิยธรรมภูษิต (คำ) วัดบำรุงธรรม
พระครูศรีปริยัตยานุรักษ์ (ไฝ) วัดพันอ้น
พระครูธรรมสาคร (กลับ) วัดโกรกกราก
พระครูวิจิตรชัยการ (สด) วัดหางน้ำสาคร
พระครูประสาธนุ์ขันธคุณ (มุม) วัดปราสาทเยอร์เหนือ
พระครุอาภัสสรคุณ (อารีย์) วัดท้ายชิด
พระครุสาธุกิจวิมล (เล็ก) วัดหนองดินแดง
พระครูสุวิชงนวรวุฒิ (ปี้) วัดลานหอย
พระครูศิลสารสัมบัน (สำรวย) วัดสระแก้วปทุมทอง
พระครูศรีพรหมโสภิต (แพ) วัดพิกุลทอง
พระครูภาวนาสังวรคุณ (เต๋) วัดสามง่าม
พระครูประสาทวรคุณ (พริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู
พระคครูสมบูรณ์ศีลวัตร (สมบูรณ์) วัดแก่งคอย
พระครูพุทธิสังวรกิจ (ทอง) วัดเนรัญชรา
พระครูวิวัฒน์นครธรรม (ชาย) วัดนครธรรม
พระครูศีลคุณวัฒนาทร (โห) วัดพุทธิสาร
พระครูถาวรธรรมรัตน์ (เที่ยง) วัดเลียบ
พระครูอุดมเวทวรคุณ (เมือง) วัดท่าแหน
พระครูนันทิยคุณ (บุญตัน) วัดเชียงทอง
พระครูวิรุฬธรรมโกวิท (สิงห์คำ) วัดเจดีย์สถาน
พระครูมงคลคุณาทร (คำปัน) วัดหม้อคำตวง
พระครูภาวนาภิรัต (อินท์จักร์) วัดวนรามน้ำบ่อหลวง
พระครูวิริยะโสภิต (ทอง) วัดพระปรางค์
พระครูประกาสสมาธิคุณ (สังเวียน) วัดมหาธาตุ
พระครูปัญญาโชติวัตร (เจริญ) วัดทองนพคุณ
พระครุศีลโสภิต (แถม) วัดทองพุ่มพวง
พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ (มุม) วัดดอนไร่
พระครูประภาสธรรมาภรณ์ (ลำยอง) วัดสุนทรประดิษฐ์
พระครูนิสัยจริยคุณ (วิสุทธิ์) วัดจันเสน
พระครูสมุทรวิจารย์ (จารย์) วัดประชาโฆสิตาราม
พระครูศีลวิมล (ท้วม) วัดเขาดบสถ์
พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณี
พระครูสุวรรณสุนทร (ทอง) วัดดอกไม้ (ตะกล่ำ)
พระครูอินทศิริชัย (ม้วน) วัดไทร
พระครูพุทธมัญจาภิบาล (ทองหล่อ) วัดพระแท่นดงรัง
พระครูอาจารโสภณ (เริ่ม) วัดกลางวังเย็น
พระครูโสภณรัตนากร (เพิ่ม) วัดดอนตูม
พระครูวิจิตรธรรมรส (สุดใจ) วัดบ้านโป่ง
พระครูพิทักษ์วิหารกิจ (สา) วัดราชนัดดาราม
พระครูพิลาสธรรมกิตติ์ (ทวี) วัดโรงช้าง อ.เมือง จ.พิจิตร
พระครูสุวรรณประภาส (ทอง) วัดธาตุสว่าง
พระครูวิจิตรพัฒนาภรณ์ (เจริญ) วัดดอกไม้
พระครูอภัยภาดาทร (ขอม) วัดโพธาราม
พระครูสถิตวุมิคุณ (ปลั่ง) วัดหนองกระทุ่ม
พระครุสถาพรพุทธมนต์ (สำเนียง) วัดเวฬุวนาราม
พระครูวิบูลธรรมเวท (เปรื่อง) วัดหิรัญญาราม
พระครูพิพัฒน์วรคุณ (ชู) วัดลุ่มเจริญศรัทธา
พระครูปลัดสงัด (สงัด) วัดพระเชตุพน
พระครูรัตนานุรักษ์ (อาจารย์แก้ว) วัดปงสนุกใต้
พระครูสุกิจวิริยากร (หมั่น) วัดดงสัก
พระครูธรรมธรบุญมี วัดท่าสะต๋อย
พระปลัดบุญเชิด วัดชมนิมิตร
พระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาส
พระครูวิชัยณรงค์ฤทธิ์ วัดสิตาราม
พระอาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิ์
พระอาจารย์แดง วัดเขาหลัก
พระอาจารย์รักษ์ วัดศรีรัตนคีรีวงศ์
พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
พระอาจารย์บุรัชย์ วัดนายพญา
พระอาจารย์กี๋ วัดหูช้าง
พระอาจารย์จันทร์ วัดนามะตูม
พระอาจารย์ครูบาวัง วัดบ้านเด่น
พระอาจารย์แสน วัดท่าแทน
พระอาจารย์คง วัดสันพระรส
พระอาจารย์สวน วัดบางกระดาน
พระอาจารย์ใหญ่ วัดถ้ำใหญ่คูหาสวรรค์
พระอาจารย์จำรัส วัดเมืองกาย
พระอาจารย์เกลี้ยง วัดเขาใหญ่
พระอาจารย์โสภาโสภิกขุ วัดเทพนฤมิตคีรีขันธ์
พระอาจารย์ลมูล วัดพุทธวงศา
พระอาจารย์ชาย วัดสังข์ทอง
พระอาจารย์ดี วัดศรีสำราญ
พระอาจารย์หนูอินทร์ วัดพุทธคยา
พระอาจารย์ลี วัดป่าบ้านนอก
พระอาจารย์คูณ วัดหนองแวง
พระอาจารย์สุวรรณ วัดพรหม
พระอาจารย์เพ็ชร์ นนฺทเสโน วัดบ้านเด่น
พระอาจารย์อุ้ย วัดสังฆราชา
พระสุนทรธรรมภาณ (เมตตาหลวง) วัดเทพพิทักษ์ปุณนาราม