Monday, September 2, 2013

มวลสาร ขั้นตอนการสร้าง และธรรมชาติของสมเด็จวัดระฆังรุ่นอนุสรณ์ร้อยปี

มวลสารของสมเด็จวัดระฆังรุ่นอนุสรณ์ร้อยปี
 
มวลสารของสมเด็จวัดระฆังนั้นมีมากมาย ซึ่งอาจต่างกันออกไปบ้าง แล้วแต่ช่างที่ทำได้รับเนื้อมวลสารจะนำไปผสม แต่ส่วนผสมหลักๆจะมีดั้งนี้
 
ชิ้นส่วนและผงกรุของสมเด็จวัดระฆัง
ผู้เขียนคาดว่าใ้ช้เพียงจำนวนเล็กน้อยเพื่อเป็นหัวเชื้อให้กับเนื้อมวลสารทั้งหมดราวๆ1ช้อนชา ซึ่งข้อมูลนี้ได้ยินมาจากท่านเจ้าคณะ9 อีกทีหนึ่ง

ชิ้นส่วนและผงกรุของสมเด็จบางขุนพรหม
ผู้เขียนคาดว่าใ้ช้เพียงจำนวนเล็กน้อยเพื่อเป็นหัวเชื้อให้กับเนื้อมวลสารทั้งหมดราวๆ1ช้อนชา ซึ่งข้อมูลนี้ได้ยินมาจากท่านเจ้าคณะ9 อีกทีหนึ่ง

ชิ้นส่วนพระปิลันท์
ผู้เขียนคาดว่าใ้ช้เพียงจำนวนเล็กน้อยเพื่อเป็นหัวเชื้อให้กับเนื้อมวลสารเช่นเดียวกับมวลสารทั้งสองอย่างที่กล่าวมาแล้ว

เกสรดอกไม้
เกสรดอกไม้แห้งต่างๆที่ทางวัดรวบรวมไว้จากผู้ที่นำมาสักการะบูชาที่วัด

น้ำอ้อย
ใช้เพื่อเป็นตัวผสานให้กับเนื้อพระ แต่ทว่าอาจแตกต่างกันออกไปตามความถนัดของช่าง

ปูนขาว
ใช้เพื่อเป็นตัวผสานให้กับเนื้อพระ แต่ทว่าอาจแตกต่างกันออกไปตามความถนัดของช่าง

กล้วย
ใช้เพื่อเป็นตัวผสานให้กับเนื้อพระ แต่ทว่าอาจแตกต่างกันออกไปตามความถนัดของช่าง ซึ่งชนิดของกล้วยที่ใช้ก็จะต่างกันไปตามความถนัดของช่าง ซึ่งผู้เขียนได้รับข้อมูลมาว่ามีทั้งกล้วยน้ำว้า และกล้วยหักมุก

น้ำมันตังอิ๊ว
เคยเป็นที่ำถกเถียงกันว่ามีหรือไม่มี แต่จากข้อมูลที่ผู้เขียนได้รับมานั้น สรุปได้ว่ามีช่างบางคนได้ทำการใส่น้ำมันตังอิ๊วอยู่เหมือนกัน

เศษอิฐแดง
บางคนอาจสงสัยว่าทำไม ส่องพระสมเด็จรุ่นอนุสรณ์ร้อยปีแล้วจึงเห็นเศษเม็ดแดงๆ นั่นคืออิฐจากพระ
อุโบสถและโบสถ์ที่ชำรุดนำมาบดละเอียดผสมลงไปในเนื้อพระ
 
ข้อมูลการสร้างสมเด็จวัดระฆังรุ่นอนุสรณ์ร้อยปี
 
จากข้อมูลที่ผู้เขียนให้รวบรวมและศึกษามานั้น ไปรวมไปถึงการขอข้อมูลจากโรงงานที่ได้รับมอบหมายให้ผลิต และพยานบุคคลต่างๆที่อยู่ในช่วงเวลาเหตุการณ์นั้น ซึ่งทำให้ผู้เขียนเปลี่ยนความคิดเรื่องการ
ร้างพระชุดนี้ไปพอสมควร ทั้งนี้ผู้เขียนจะขอเขียนให้ผู้อ่านได้ฟังทั้งข้อมูลที่เคยได้รับ และข้อมูลที่ค้นคว้าหามา เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาศึกษาได้ประมวลข้อมูลพิจารณากันเอาเอง
 
ข้อมูลที่เคยได้รับและถูกบอกต่อๆกันมา  
 
ผู้เขียนเองเคยได้รับข้อมูลการสร้างพระชุดอนุสรณ์ร้อยปีนี้ว่าเป็นพระกดมือเท่านั้น เืมื่อกดออกมาแล้วจึงเคาะออกจากบล็อกพิมพ์ และตัดด้วยไม้ไผ่ซึ่งทำให้เกิดรอยตอกตัด หลังฝนมุมขอบด้วยกระดาษทรายให้ดูเรียบร้อย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มักจะถูกแต่งเติมให้ดูน่าฟังทั้งในเรื่องของมวลสารและการสร้าง จนผู้เขียนรู้สึกว่าเกินจากความเป็นจริงไปบ้าง เนื่องจากช่วงเวลาในการสร้างนั้นมีราวๆ1ปี กับพระผงที่กดออกมา135,000องค์ ซึ่งเป็นจำนวนจากเอกสารที่ทางวัดได้ระบุเอาไว้ ทั้งยังต้องสร้างพระชนิดอื่นๆของรุ่นอนุสรณ์ร้อยปีนี้ เช่นพระบูชา รูปหล่อโลหะต่างๆอีกด้วย ทำให้เวลาในการสร้างไม่เพียงพอตามที่กำหนดไว้ การสร้างจึงเป็นไปอย่างเร่งรีบ และไม่ได้สวยงามดังภาพวาดตามที่เล่ากันมา
 
ข้อมูลที่ค้นคว้ามาจากทางวัดและพยานบุคคลต่างๆ
 
หลังจากที่ผู้เขียนได้ค้นคว้าหาข้อมูล สิ่งที่ผู้เขียนได้ประมวลออกมามีอยู่ว่า การทำพระชุดนี้นั้นเร่งรีบเป็นอย่างมาก ได้มีการแบ่งแยกเนื้อพระให้กับช่างหลายคน ราวสิบกว่าคน พระชุดอนุสรณ์ร้อยปีนี้มีทั้งกดเครื่อง และกดมือ พระที่กดเครื่องพบได้ในพระพิมพ์นิยมทั้งหลาย คือพิมพ์เศียรโตA พิมพ์เศียรโตB พิมพ์เส้นด้าย พิมพ์ไข่ปลาเลือน และพิมพ์ซุ้มซ้อนเป็นต้น เครื่องที่ใช้กดนั้นเป็นเครื่องแบบกระเดื่อง ทำการกดที่โรงงาน ใช้บล็อกพลาสติกและบล็อกทองเหลือง การกดนั้นเริ่มจากการเอาเนื้อพระมาปั้นเป็นก้อนกลมๆวางลงบนแป้นแม่พิมพ์ ใช้เครื่องกด และงัดออกมา ไม่ต้องมีการตัดปีกแต่อย่างใด หลังจากนั้นจึงผึ่งลม แล้วนำมาฝนมุมขอบให้เรียบร้อย ส่วนการกดมือนั้น ทำการกดกันในเขตวัด ใช้บล็อกพลาสติกเพียงอย่างเดียว ก่อนกดพระจะโรยแป้งรองพิมพ์ กดพิมพ์พระ และเคาะออกมา จากนั้นจึงตัดปีกด้วยมีด ไม่ได้ตัดด้วยไม้ไผ่แต่อย่างได้ หากแต่ว่า"รอยตอกตัด"ที่เรียกกันนั้น เกิดขึ้นมาจากเศษของเนื้อพระที่ไปติดเข้ากับใบมีดจนแข็งตัว ทำให้เป็นรอยในการตัด
 
ธรรมชาติของสมเด็จวัดระฆังรุ่นอนุสรณ์ร้อยปี
 
การศึกษาพระนั้น ผู้เขียนมีความเห็นว่าผู้ศึกษาจะเรียนรู้พระชนิดนั้นๆได้ ผู้ศึกษาจะเป็นต้อง ศึกษาธรรม
ชาติของพระให้เป็นเสียก่อนพิมพ์ทรง เนื่องจากพระเก๊นั้นสามารถลอกเลียนแบบพิมพ์พระให้ใกล้เคียงได้ แต่ธรรมชาติของพระนั้นไม่สามารถเลียนแบบได้ เช่นถ้าเป็นเหรียญ ธรรมชาติของเหรียญคือตัวตัด ความคมชัด ความตึงผิว และอื่นๆ สำหรับสมเด็จวัดระฆังนั้นธรรมชาติของพระในเบื้องต้นมีดังนี้

เนื้อ เนื้อของสมเด็จวัดระัฆังรุ่นอนุสรณ์ร้อยปีนั้นจะดูแน่นและหนึก มีมวลสารที่ไม่เหมือนวัดอื่น ซึ่งเป็นสิ่งแรกที่ควรศึกษาไว้ให้แม่นยำ ซึ่งเนื้อพระของแต่ละพิมพ์จะมีโซนเนื้อหลักๆที่ต่างกันออกไป ซึ่งผู้เขียนจะยกตัวอย่างไว้ให้ในภายหลัง

รอยยุบตัว ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นที่ด้านหลังขององค์พระ เพราะส่วนมากเนื้อฝั่งด้านหน้าจะแน่นมากกว่าเพราะอยู่ด้านที่ประกบเข้ากับตัวบล็อกพิมพ์ รอยยุบและรอยปริจึงมักจะไปเกิดขึ้นที่ด้านหลังซะเป็นส่วนมาก แต่ในบางองค์ก็มีรอยที่ด้านหน้าให้เห็นบ้าง ทั้งนี้ขอให้จำลักษณะการยุบตัวให้ดี จะมีทั้งการยุบแบบบุ๋มลงไปแต่ไม่ปริเป็นรอยแยก กับยุบแล้วปริเป็นรอยแยก พิมพ์ที่มักจะพบเจอรอยยุบตัวน้อยที่สุดก็คือพิมพ์เศียรโตA เนื่องจากเป็นพระกดเครื่องจึงมีเนื้อที่แน่นกว่าพิมพ์อื่นๆ



รอยปริ ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นที่ด้่านหลังขององค์พระ มันพบมากในพิมพ์ไข่ปลาเลือน  ซึ่งสมเด็จวัดระฆังรุ่นอนุสรณ์ร้อยปีนั้นจะมีรอยปริที่ดูเป็นเอกลักษณ์มากทีเดียว ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดทั้งจากการผสมเนื้อพระ แรงในการกด และหลายปัจจัยอื่น ทั้งนี้แต่ละองค์ไม่จำเป็นต้องมีรอยปริ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆที่กล่าวไป



รอยลบมุม สมเด็จวัดระัฆังรุ่นอนุสรณ์ร้อยปีนั้นจะมีรอยลบมุมขอบเกือบทุกองค์ สามารถนำมาช่วยเป็นหลักการพิจารณาได้ การลบนั้นเกิดจากการใช้กระดาษทราย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นพระที่ไม่ได้รับการลบมุมขอบเองก็มี ทว่ามีจำนวนที่น้อยมาก

รอยตัดข้าง รอยตัดข้างเป็นรอยซึ่งเรียกกันว่ารอยตอกตัด ซึ่งเป็นการตัดลงไปตรงๆในแนวดิ่งและปาดไปทางแนวขวางเพื่อลบครีบ

 

ตรายาง สามารถช่วยเป็นการสกรีนได้เป็นลำดับแรกหากไปเดินแล้่วพบเจอตามสนามพระ ถ้าจำแม่นๆ เจอตรายางผิดก็ไม่ต้องเมื่อยดูอีกต่อไป แต่มีบางครั้งที่พระเป็นพระแท้แต่ตรายางปั๊มใหม่ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันกับตรายางแท้มากก็มีเช่นเดียวกัน ฉะนั้นผู้ศึกษาจึงควรเข้าใจและพิจารณาธรรมชาติอื่นๆของพระด้วย ไม่ใช่ดูแต่ตรายาง



คราบแป้ง มีทั้งหนาและบางขึ้นอยู่กับการโรยแป้งในขณะกดพิมพ์พระ ถ้าคราบแป้งบางจะดูคล้ายชั้นแป้งบางๆรองอยู่ทั่วองค์ แต่หากคราบแป้งหนาจะมีคราบแป้งหนาเป็นหย่อมๆ เกาะกับเนื้อพระ ซึ่งในบางครั้งอาจหลุดร่อนออกและเกาะเอาเนื้อพระติดออกไปด้วย



รอยแปรงปัด สามารถพบเห็นได้ในพระที่มีสภาพเดิมและไม่ผ่านการใช้ ถ้าส่องกล้องดูแล้วจะเห็นเป็นคราบแป้งและรอยแปรงกระจายอยู่ทั่วองค์พระ  ซึ่งถ้าไปทางไหนแล้วมักจะไปในทางเดียวกันสลับไปมาทั้งองค์พระ

 
กล่องพระ ถึงแม้ว่ากล่องใส่พระนั้นจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของพระ แต่กล่องก็มีราคาในระดับหนึ่ง และช่วยในการแยกแยะพระเก๊และพระแท้ได้ในระดับหนึ่ง ผู้เขียนจึงอยากอธิบายวิธีการดูกล่องพระแท้หรือเก๊เอาไว้ด้วย กล่องแท้นะจะเป็นยี่ห้อcosmoเท่านั้น ไม่มีกล่องvisonหรือยี่ห้ออื่นๆ ตราสกรีนถ้าเอามือลูบไปแล้ว จะไม่คมบาดมือหรือเป็นร่องลงไป จะบางเรียบติดกับผิวกล่อง เป็นสีทองออกด้านๆ ไม่สะท้อนแสงมากนั้น
 
 
 
 

1 comment:

  1. Casino Site | Choego Casino
    Join Choego Casino online. Your online casino is a real money online casino with great games. 샌즈카지노 From หาเงินออนไลน์ slots to roulette 카지노사이트 to video poker, you are always

    ReplyDelete